CREATIVE learning space for literate

ผู้อำนวย สพท. นายสายัณห์ ผาน้อย
เป็นประธานพิธีเปิดค่าย
"อ่านออกก็ง่าย เขียนได้ก็ไม่ยาก"
              ในสมัยที่ท่าน จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ   สพฐ.หันมาให้ความสนใจ "การอ่านออกเขียนได้"  
           คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ระดับ ป.2, ป.4, ม.2 และ ม.4 ปีการศึกษา 2549 นั้น ได้ขอให้ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) สำรวจเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ในระดับ ป.2 เพื่อจะใช้เวลา 1 ปีเต็มในการแก้ปัญหา 
          
          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า จากข้อมูลสำรวจเบื้องต้นพบว่า เด็ก ป.2 จำนวนกว่า 79,000 คน จากทั้งหมดกว่า 600,000 คน ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์ของเด็กที่พึงมีในระดับ ป.2 คิดเป็นร้อยละ 12 ถือเป็นภาพรวม แต่ไม่ใช่ทุก สพท.มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามจำนวนนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือปัญหาเรื่องภาษา เช่น ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี และตาก 
          นอกจากนี้ คุณหญิงกษมา ยังกล่าวถึงสาเหตุที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ว่า พบ 4 สาเหตุใหญ่คือ ยากจน ต้องขาดเรียนบ่อยๆ จนเวลาเรียนไม่ครบ, เด็กที่ไม่พูดภาษาไทยที่บ้าน, มีปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 5-6 บางโรงเรียนอาจมีมากกว่านี้ และเด็กในโรงเรียนที่มีครูไม่พอหรือขาดแคลนครู 
          ทั้งนี้ นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เกินร้อยละ 25 ใน 10 สพท.นั้น อยู่ใน สพท.จังหวัดชายแดนใต้ 5 เขต ภาคเหนือ 2 เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 เขต และภาคกลาง 1 เขต ส่วนสพท.ที่มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้น้อยที่สุดคือร้อยละ 1 อยู่ในกรุงเทพมหานคร และ สพท.ที่มีน้อยกว่าร้อยละ 5 อยู่ในจังหวัดเชียงราย ชลบุรี ปทุมธานี สุโขทัย ลำปาง นนทบุรี สระแก้ว สระบุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา แพร่ เป็นต้น  
         และเราได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเปิดเผยว่าจากผลการประเมินนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นป.3 กว่า 500,000 คนทั่วประเทศ พบว่ามีเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ว่า 37,000 คน และเขียนไม่ผ่านเกณฑ์กว่า 93,000 คน     
         ข้อมูลดังกล่าว ยืนยันภึงสภาพการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนว่ามีอยู่จริง และค่อนข้างมากนับเป็นวิกฤต และน่าจะเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข
        เมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณลงมาเพื่อให้ระดับ สพท.และโรเรียนแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวิธีการแก้ไข
        ผู้เขียนเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินแก้ปัญหา  ซึ่งแบ่งระดับการแก้ปัญหาออกเป็น ๓ ระดับ คือระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน และระดับเขตพื้นที่ มีการศึกษาวิจัยรูปแบบการแก้ปัญหา ได้กำหนดกิจกรรมการแก้ไขหลายรูปแบบ  ยกตัวอย่าง
             ระดับห้องเรียน
                   ๑. การจัดทำ km เพื่อแสวงหาวิธีดีๆที่ครูป.๓ ใช้ในการสอนการอ่านออกเขียนได้จนเป็นผลสำเร็จ
                   ๒.ร่วมในกระบวนการการศึกษาวิจัยรูปแบบการนิเทศเพื่อครูเพื่อให้มีความสามารถในการสอนเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้น ป.๓( ATASE) เฉพาะศูนย์เครือข่ายเขาสวนกวางคำม่วง
                   ๓. การนำวิธีการที่ได้จากข้อ ๑ ไปใช้ในห้องเรียน
             ระดับโรงเรียน
                  
โรงเรียนให้การสนับสนุนด้านปัจจัย นิเทศกำกับ จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จัดกลุ่มเด็กตามระดับความสามารถ 
             ระดับสำนักงานเขตพื้นที่
                 
๑. จัดทำสื่อเพื่อให้ครูนำไปใช้ในห้องเรียน
                  ๒. จัดประชุมสัมมนาเพิ่มความรู้ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา
                  ๓. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ
                  ๔. กิจกรรมครู เสมาทองคำ
กิจกรรมการเรียนรู้ ในค่ายวิชาการ
โดยมีครู"เสมาทองคำ และผู้เชี่ยวด้านการสอน"เป็นวิทยากร

กิจกรรมโฮมรูม
ในหอประชุม
 จากกิจกรรมที่หลากหลาย ที่จัดให้ เมื่อมีการประเมินพบว่า นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ยังคงมีปรากฏ แต่มีจำนวนที่ลดลงประมาณร้อยละ ๕๐ เรามีเวลาเหลืออีกประมาณ ๑ เดือนครึ่งจะสิ้นปีการศึกษา จึงได้จัดทำสื่อพัฒนาเร่งด่วนชื่อ"เพลงยุง"ประกอบด้วยเพลงแบบ karaoke ที่ขึ้นคิวประกอบตัวอักษรที่ตรงกับเสียงร้อง มีการจัดหมวดหมู่คำใน"เพลงยุง" เป็นคำง่าย คำยาก และยากที่สุด ให้ครูได้เน้นเวลาสอน
          เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง ได้มีการประเมินอีกครั้ง ปรากฏว่า จำนวนที่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลง มีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ประมาณ ร้อยละ ๓๐ จากกลุ่มทีสอง ไม่สามารถแก้ปัญหาเด็กทุกคนได้ ผลการประเมินตามกลยุทธ์ที่ สพฐ.ส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน เราก็ได้คะแนน อยู่ในกลุ่มที่กลางๆ คือมีความพยายาม แต่ไม่มีความสำเร็จที่น่าเป็นแบบอย่าง(Best Practic) ได้ เพราะ สพฐ.ตั้งเกณฑ์ไว้ว่าเด็ก ป.๓ ทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้ทุกคน จึงจะถือว่าประสบผลสำเร็จ
             เมื่อต้นปีที่แล้ว ได้ชมวีดิทัศน์ทางการศึกษาของต่างประเทศเรื่องหนึ่งชื่อ "3 Steps for 21st Century Learning" เป็นวีดิทัศน์ที่น่าศึกษามาก ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มาวิทัศน์ชุดนี้ มาจากเวบไซต์ eacherHack ผู้เขียนบทบทวีดิทัศน์ ชื่อ  Jackie Halow สรุปความจาก วีดิทัศน์ ได้ดังนี้
             ๑. ความหมายของเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
                 Jackie Halow อ้างคำของ Alvin Toffler ว่า "การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"ในศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ได้หมายความถึงผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เท่านั้น แต่รวมถึง "บุคคลที่ไม่สามารถเรียนได้ บุคคลที่ยังไม่ได้เรียน และบุคคลที่ต้องเรียนเพิ่มเติม"
            ๒. ทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้เพื่อให้อ่านออกเขียนได้
                Jackie Halow ตั้งคำถามว่า "ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้มีทักษะที่สำคัญอะไรบ้างที่จะช่วยให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้  ? " คำตอบที่เฉลยไว้ มี ๓ ทักษะ ได้แก่
                    ๑. ความสามารถหรือสมรรถนะ (Completition)
                    ๒. การทำงานเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม (Coopperation)
                    ๓. การให้ความร่วมมือ(Collaboration)
                   ใครละที่เราต้องการให้มีคุณลักษณะเช่นนั้น...???
                   และจะช่วยพวกพวกเขาอย่างไร...???
              เราจะช่วยเหลือเด็กของเราให้เป็นบุคคลเรียนรู้ที่มีกลุ่มเครือข่ายระดับโลกอย่างไร....??? เราจะเริ่มต้นที่ไหน...??? --------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ ๑ (Step 1)
            ปรับเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนที่มีพื้นที่การเรียนรู้ที่สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(transform your classroom into CREATIVE  learning space)
              Albert Eistein ได้ให้คำคมควรคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ว่า"ข้าพเจ้าไม่เคยสั่งสอนนักเรียน แต่มีความพยายามที่จะจัดโอกาสหรือสร้างเงื่อนไขที่ส่งเสริมให้พวกเขาได้เรียน(I never teach my pupils; I only attemtp to provide the conditions in which they can learn.)"
              ทำไม ? ตั้งแต่ปี ๑๙๖๐ เป็นต้นมา รูปแบบห้องเรียนส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายๆกัน(มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยม  มีกระดานติดที่ผนัง มีกล่องชอล์ค มีโต๊ะครูด้านหน้า และมีโต๊ะนักเรียนหันหน้าเข้าหาโต๊ะครูและกระดานดำ)
              (อ่านต่อฉบับหน้า)