มีโอกาสได้ออกแบบการจัดค่ายสร้างสรรค์ชื่อ"ค่ายสร้างสรรค์วรรณกวี ดนตรี ศิลป์" ที่จัดให้เด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไปที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๔ จำนวน ๑๘๐ คน รูปแบบของค่ายได้จัดให้มีรูแบบที่สะท้อนชื่อและแนวคิดของค่าย คือให้สมาชิกค่ายได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและกวี ดนตรีนาฏศิลป์ และศิลปะ ในแต่ละกลุ่มเนื้อหา ก็จัดฐานเรียนรู้ไว้ ๓ ฐาน รวม ๙ ฐานการเรียนรู้ ใช้เวลาการเรียนรู้ในแต่ละฐาน ฐานละ ๔๕ นาที โดยประมาณ
ฐานเรียนรู้ทั้ง ๙ ฐาน ที่จัดตามกลุ่มเนื้อหา ได้ ดังนี้
-ภาษาและกวี ๓ ฐาน
ฐานที่ ๑ เรียงร้อยถ้อยคำ
ฐานที่ ๔ จินตนาการผ่าผัสสะ
ฐานที่ ๕ โลกกว้างสู่ทางศิลป์
ฐานที่ ๖ ศิลปะไร้พรมแดน
-ดนตรีนาฏศิลป์ ๓ ฐาน
ฐานที่ ๗ เสียงดนตรีจากธรรมชาติ
ฐานที่ ๘ นาฏศิลป์ถิ่นไทย
ฐานที่ ๙ นาฏการดนตรีนี้สนุก
ได้ทำความเข้าใจในความคาดหวังกับวิทยากรผู้ขับเคลื่อนการเรียนรู้ในฐาน ท่านก็เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดค่ายสร้างสรรค์ ว่าเราไม่เน้นหนักในเรื่องวิชาการ แต่ต้องการให้สมาชิกค่ายมีเจตคติที่ดีต่อภาษากวี ดนตรีนาฏศิลป์ และศิลปะ ผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปสร้างสรรค์ในงานรูปแบบอ่านที่มอบหมาย ผ่านกิจกรรมงานวัด(Wat Fetival Fair) และงานนำเสนอ แต่เท่าที่เราเข้าไปสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้พบว่า วิทยากรบางท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังดีต่อศิษย์ อยากให้ได้ให้เกิดชิ้นงานที่เป็นชิ้นเป็นอัน(ทางวิชาการ) จึงได้ออกแบบกิจกรรมค่อนข้างจะเป็นวิชาการที่หลากหลาย ทำให้เวลาเรียนไม่พอ ส่งผลต่อการบริหารเวลาโดยภาพรวม แต่เด็กก็สนุกดี ใช้ได้อยู่นะ
การออกแบบค่าย จึงไม่ใช่ภารกิจของใครที่ทำครั้งเดียวเสร็จ ต้องอาศัยการตั้งข้อสังเกตการพูดคุยกับสมาชิกค่าย ขณะดำเนินกิจกรรมค่ายก็ต้องมีการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม และต่อเนื่อง แล้วนำผลมาศึกษาร่วมกัน แล้วร่วมกันกำหนดรูปแบบค่ายเช่นนี้ใหม่ โดยเติมเต็มสิ่งที่ขาดและขจัดสิ่งที่เกินออกไป
หลังจากได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดค่ายซึ่งหน้าที่ก็หนีไม่พ้นเรื่องการออกแบบค่ายแน่นอน จึงได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไขความสำเร็จซึ่งเป็นประตูเดินไปสู่ความสำเร็จของการจัดค่าย ได้กำหนดไว้คร่าวๆ ๙ ข้อ ดังนี้
๑. จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านผัสสะ ทั้ง ๕ และกระตุ้นให้เกิดการคิด มีความสะดวก สบาย และปลอดภัย
๒. จัดหาปัจจัยสนับสนุนการจัดการให้เพียงพอ
๓. อำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จำเป็น วัสดุอุปกรณ์ตามความจำเป็น
๔. ฐานการเรียนรู้ต้องออกแบบให้สมาชิกชาวค่ายได้มีส่วนร่วม และเป็นฐานการเรียนรู้ที่ Active มีชีวิต เร้าความสนใจ ให้เกิดความประทับใจ
๕. วิทยากรประจำฐานเรียนรู้ใด ๆ ต้องเตรียมเครื่องมือ สื่ออุปกรณ์ประจำฐานไว้ให้พร้อม และเพียงพอแก่จำนวนสมาชิก มีการประเมินผลตลอดเวลา ใช้สื่อ Authentic ให้มากที่สุด จัดฐานการเรียนรู้/กิจกรรม ให้แตกต่างจากบรรยากาศเดิมๆ ที่ผู้เรียนเคยได้รับในห้องเรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว อยากรู้อยากเรียนอยู่ตลอดเวลา
๖. ต้องมีการเก็บข้อมูล ให้ครบทุกด้าน ทุกช่วงเวลาที่สำคัญ
๗.ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเอาใจใส่ และผลักดันภารกิจไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ
๘. มีผู้อำนวยการค่าย รองผู้อำนวยการค่าย และคณะทำงานมีหน้าที่อำนวยการ อำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรมค่าย ให้บรรลุตามเป้าหมาย
๙. มีพิธีเปิด-ปิด ที่แสดงออกถึงความขลัง น่าศรัทธา น่าเชื่อถือ ให้เกิดความประทับใจ และเห็นคุณค่าของกิจกรรมค่าย
ผู้เขียนค่อนข้างจะมั่นใจว่า มีไมกี่คนหรอกที่อ่าน เพราะไม่มีข้อคำถา มถามกลับบ้างเลย ทั้งที่มีข้อชวนถามอยู่ไม่น้อย อย่างน้อยก็ถามว่า จะทำได้หรือ ?
-ภาษาและกวี ๓ ฐาน
ฐานที่ ๑ เรียงร้อยถ้อยคำ
ฐานที่ ๒ กวีศรีอักษร
ฐานที่ ๓ เกมกลอนย้อนเหตุการณ์
-ศิลปะ ๓ ฐานฐานที่ ๔ จินตนาการผ่าผัสสะ
ฐานที่ ๕ โลกกว้างสู่ทางศิลป์
ฐานที่ ๖ ศิลปะไร้พรมแดน
-ดนตรีนาฏศิลป์ ๓ ฐาน
ฐานที่ ๗ เสียงดนตรีจากธรรมชาติ
ฐานที่ ๘ นาฏศิลป์ถิ่นไทย
ฐานที่ ๙ นาฏการดนตรีนี้สนุก
ได้ทำความเข้าใจในความคาดหวังกับวิทยากรผู้ขับเคลื่อนการเรียนรู้ในฐาน ท่านก็เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการจัดค่ายสร้างสรรค์ ว่าเราไม่เน้นหนักในเรื่องวิชาการ แต่ต้องการให้สมาชิกค่ายมีเจตคติที่ดีต่อภาษากวี ดนตรีนาฏศิลป์ และศิลปะ ผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้จากฐานการเรียนรู้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปสร้างสรรค์ในงานรูปแบบอ่านที่มอบหมาย ผ่านกิจกรรมงานวัด(Wat Fetival Fair) และงานนำเสนอ แต่เท่าที่เราเข้าไปสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้พบว่า วิทยากรบางท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังดีต่อศิษย์ อยากให้ได้ให้เกิดชิ้นงานที่เป็นชิ้นเป็นอัน(ทางวิชาการ) จึงได้ออกแบบกิจกรรมค่อนข้างจะเป็นวิชาการที่หลากหลาย ทำให้เวลาเรียนไม่พอ ส่งผลต่อการบริหารเวลาโดยภาพรวม แต่เด็กก็สนุกดี ใช้ได้อยู่นะ
การออกแบบค่าย จึงไม่ใช่ภารกิจของใครที่ทำครั้งเดียวเสร็จ ต้องอาศัยการตั้งข้อสังเกตการพูดคุยกับสมาชิกค่าย ขณะดำเนินกิจกรรมค่ายก็ต้องมีการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม และต่อเนื่อง แล้วนำผลมาศึกษาร่วมกัน แล้วร่วมกันกำหนดรูปแบบค่ายเช่นนี้ใหม่ โดยเติมเต็มสิ่งที่ขาดและขจัดสิ่งที่เกินออกไป
หลังจากได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดค่ายซึ่งหน้าที่ก็หนีไม่พ้นเรื่องการออกแบบค่ายแน่นอน จึงได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไขความสำเร็จซึ่งเป็นประตูเดินไปสู่ความสำเร็จของการจัดค่าย ได้กำหนดไว้คร่าวๆ ๙ ข้อ ดังนี้
๑. จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านผัสสะ ทั้ง ๕ และกระตุ้นให้เกิดการคิด มีความสะดวก สบาย และปลอดภัย
๒. จัดหาปัจจัยสนับสนุนการจัดการให้เพียงพอ
๓. อำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จำเป็น วัสดุอุปกรณ์ตามความจำเป็น
๔. ฐานการเรียนรู้ต้องออกแบบให้สมาชิกชาวค่ายได้มีส่วนร่วม และเป็นฐานการเรียนรู้ที่ Active มีชีวิต เร้าความสนใจ ให้เกิดความประทับใจ
๕. วิทยากรประจำฐานเรียนรู้ใด ๆ ต้องเตรียมเครื่องมือ สื่ออุปกรณ์ประจำฐานไว้ให้พร้อม และเพียงพอแก่จำนวนสมาชิก มีการประเมินผลตลอดเวลา ใช้สื่อ Authentic ให้มากที่สุด จัดฐานการเรียนรู้/กิจกรรม ให้แตกต่างจากบรรยากาศเดิมๆ ที่ผู้เรียนเคยได้รับในห้องเรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว อยากรู้อยากเรียนอยู่ตลอดเวลา
๖. ต้องมีการเก็บข้อมูล ให้ครบทุกด้าน ทุกช่วงเวลาที่สำคัญ
๗.ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเอาใจใส่ และผลักดันภารกิจไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ
๘. มีผู้อำนวยการค่าย รองผู้อำนวยการค่าย และคณะทำงานมีหน้าที่อำนวยการ อำนวยความสะดวก ในการดำเนินกิจกรรมค่าย ให้บรรลุตามเป้าหมาย
๙. มีพิธีเปิด-ปิด ที่แสดงออกถึงความขลัง น่าศรัทธา น่าเชื่อถือ ให้เกิดความประทับใจ และเห็นคุณค่าของกิจกรรมค่าย
ผู้เขียนค่อนข้างจะมั่นใจว่า มีไมกี่คนหรอกที่อ่าน เพราะไม่มีข้อคำถา มถามกลับบ้างเลย ทั้งที่มีข้อชวนถามอยู่ไม่น้อย อย่างน้อยก็ถามว่า จะทำได้หรือ ?
ในเอกสาร "แนวดำเนินกิจกรรมค่าย" ในส่วนของวิทยากร อย่างน้อยต้องมีประจำฐานเรียนรู้อย่างน้อย ฐานละ ๒ คน เนื้อหาหนึ่ง ๆ ก็ต้องมีอย่างน้อย ๖ คน การสรรหาและแต่งตั้งวิทยากร ต้องกำหนดภาระหน้าที่ให้แต่ละคนไว้อย่างชัดเจน ไม่ควรแต่งรวมๆ และสำคัญที่สุดจะต้องมีวิทยากรกลาง ทำหน้าที่แยกออกเด็ดขาดจากวิทยากรประจำฐาน ต้องเลือกคนที่มีพระสวรรค์ในการสื่อสารกับเด็กจำนวนมาก ละลายพฤติกรรมของเด็กให้เป็นพวกเดียวกันให้ได้ และพร้อมที่จะเรียนด้วยกัน คิดด้วยกัน ทำด้วยกัน อย่างมีความสุข เป็นการผิดพลาดอย่างมาก ที่ผู้ออกคำสั่งไม่ได้ให้ความสำคัญข้อนี้ จึงเกือบจะโกลาหล เมื่อวิทยากรประจำฐาน ถูกบังคับให้ทำหน้าที่นี้ ทำให้ผู้ดำเนินกิจกรรมค่าย หรือผู้ที่ไม่ได้รับมอบหมาย แต่ต้องจำใจทำ ผลที่ปรากฏออกมา จึงไม่ค่อยจะเป็นไปตามที่คาดหวัง แต่โชคดีหน่อยที่เราได้ วิทยากรจร มาทำหน้าที่ในกิจกรรมงานวัดได้เป็นอย่างดี
ยังมีข้อสังเกต และข้อบกพร่องหลายอย่างที่จำนำมาอธิบายให้ฟัง แต่อยากให้ท่านได้ชมภาพที่คุณสุระไกร หานะกุล ทั้งถ่ายภาพ และลำดับเรื่องราวมานำเสนอ ด้านล่างนี้นะครับ