CREATIVE learning space for literate

ผู้อำนวย สพท. นายสายัณห์ ผาน้อย
เป็นประธานพิธีเปิดค่าย
"อ่านออกก็ง่าย เขียนได้ก็ไม่ยาก"
              ในสมัยที่ท่าน จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ   สพฐ.หันมาให้ความสนใจ "การอ่านออกเขียนได้"  
           คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ระดับ ป.2, ป.4, ม.2 และ ม.4 ปีการศึกษา 2549 นั้น ได้ขอให้ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) สำรวจเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ในระดับ ป.2 เพื่อจะใช้เวลา 1 ปีเต็มในการแก้ปัญหา 
          
          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า จากข้อมูลสำรวจเบื้องต้นพบว่า เด็ก ป.2 จำนวนกว่า 79,000 คน จากทั้งหมดกว่า 600,000 คน ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์ของเด็กที่พึงมีในระดับ ป.2 คิดเป็นร้อยละ 12 ถือเป็นภาพรวม แต่ไม่ใช่ทุก สพท.มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามจำนวนนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือปัญหาเรื่องภาษา เช่น ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี และตาก 
          นอกจากนี้ คุณหญิงกษมา ยังกล่าวถึงสาเหตุที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ว่า พบ 4 สาเหตุใหญ่คือ ยากจน ต้องขาดเรียนบ่อยๆ จนเวลาเรียนไม่ครบ, เด็กที่ไม่พูดภาษาไทยที่บ้าน, มีปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 5-6 บางโรงเรียนอาจมีมากกว่านี้ และเด็กในโรงเรียนที่มีครูไม่พอหรือขาดแคลนครู 
          ทั้งนี้ นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เกินร้อยละ 25 ใน 10 สพท.นั้น อยู่ใน สพท.จังหวัดชายแดนใต้ 5 เขต ภาคเหนือ 2 เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 เขต และภาคกลาง 1 เขต ส่วนสพท.ที่มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้น้อยที่สุดคือร้อยละ 1 อยู่ในกรุงเทพมหานคร และ สพท.ที่มีน้อยกว่าร้อยละ 5 อยู่ในจังหวัดเชียงราย ชลบุรี ปทุมธานี สุโขทัย ลำปาง นนทบุรี สระแก้ว สระบุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา แพร่ เป็นต้น  
         และเราได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเปิดเผยว่าจากผลการประเมินนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นป.3 กว่า 500,000 คนทั่วประเทศ พบว่ามีเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ว่า 37,000 คน และเขียนไม่ผ่านเกณฑ์กว่า 93,000 คน     
         ข้อมูลดังกล่าว ยืนยันภึงสภาพการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนว่ามีอยู่จริง และค่อนข้างมากนับเป็นวิกฤต และน่าจะเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข
        เมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณลงมาเพื่อให้ระดับ สพท.และโรเรียนแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวิธีการแก้ไข
        ผู้เขียนเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินแก้ปัญหา  ซึ่งแบ่งระดับการแก้ปัญหาออกเป็น ๓ ระดับ คือระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน และระดับเขตพื้นที่ มีการศึกษาวิจัยรูปแบบการแก้ปัญหา ได้กำหนดกิจกรรมการแก้ไขหลายรูปแบบ  ยกตัวอย่าง
             ระดับห้องเรียน
                   ๑. การจัดทำ km เพื่อแสวงหาวิธีดีๆที่ครูป.๓ ใช้ในการสอนการอ่านออกเขียนได้จนเป็นผลสำเร็จ
                   ๒.ร่วมในกระบวนการการศึกษาวิจัยรูปแบบการนิเทศเพื่อครูเพื่อให้มีความสามารถในการสอนเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้น ป.๓( ATASE) เฉพาะศูนย์เครือข่ายเขาสวนกวางคำม่วง
                   ๓. การนำวิธีการที่ได้จากข้อ ๑ ไปใช้ในห้องเรียน
             ระดับโรงเรียน
                  
โรงเรียนให้การสนับสนุนด้านปัจจัย นิเทศกำกับ จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จัดกลุ่มเด็กตามระดับความสามารถ 
             ระดับสำนักงานเขตพื้นที่
                 
๑. จัดทำสื่อเพื่อให้ครูนำไปใช้ในห้องเรียน
                  ๒. จัดประชุมสัมมนาเพิ่มความรู้ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา
                  ๓. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ
                  ๔. กิจกรรมครู เสมาทองคำ
กิจกรรมการเรียนรู้ ในค่ายวิชาการ
โดยมีครู"เสมาทองคำ และผู้เชี่ยวด้านการสอน"เป็นวิทยากร

กิจกรรมโฮมรูม
ในหอประชุม
 จากกิจกรรมที่หลากหลาย ที่จัดให้ เมื่อมีการประเมินพบว่า นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ยังคงมีปรากฏ แต่มีจำนวนที่ลดลงประมาณร้อยละ ๕๐ เรามีเวลาเหลืออีกประมาณ ๑ เดือนครึ่งจะสิ้นปีการศึกษา จึงได้จัดทำสื่อพัฒนาเร่งด่วนชื่อ"เพลงยุง"ประกอบด้วยเพลงแบบ karaoke ที่ขึ้นคิวประกอบตัวอักษรที่ตรงกับเสียงร้อง มีการจัดหมวดหมู่คำใน"เพลงยุง" เป็นคำง่าย คำยาก และยากที่สุด ให้ครูได้เน้นเวลาสอน
          เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง ได้มีการประเมินอีกครั้ง ปรากฏว่า จำนวนที่ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลง มีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ประมาณ ร้อยละ ๓๐ จากกลุ่มทีสอง ไม่สามารถแก้ปัญหาเด็กทุกคนได้ ผลการประเมินตามกลยุทธ์ที่ สพฐ.ส่งเจ้าหน้าที่มาประเมิน เราก็ได้คะแนน อยู่ในกลุ่มที่กลางๆ คือมีความพยายาม แต่ไม่มีความสำเร็จที่น่าเป็นแบบอย่าง(Best Practic) ได้ เพราะ สพฐ.ตั้งเกณฑ์ไว้ว่าเด็ก ป.๓ ทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้ทุกคน จึงจะถือว่าประสบผลสำเร็จ
             เมื่อต้นปีที่แล้ว ได้ชมวีดิทัศน์ทางการศึกษาของต่างประเทศเรื่องหนึ่งชื่อ "3 Steps for 21st Century Learning" เป็นวีดิทัศน์ที่น่าศึกษามาก ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ มาวิทัศน์ชุดนี้ มาจากเวบไซต์ eacherHack ผู้เขียนบทบทวีดิทัศน์ ชื่อ  Jackie Halow สรุปความจาก วีดิทัศน์ ได้ดังนี้
             ๑. ความหมายของเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
                 Jackie Halow อ้างคำของ Alvin Toffler ว่า "การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"ในศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ได้หมายความถึงผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เท่านั้น แต่รวมถึง "บุคคลที่ไม่สามารถเรียนได้ บุคคลที่ยังไม่ได้เรียน และบุคคลที่ต้องเรียนเพิ่มเติม"
            ๒. ทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยในการเรียนรู้เพื่อให้อ่านออกเขียนได้
                Jackie Halow ตั้งคำถามว่า "ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้มีทักษะที่สำคัญอะไรบ้างที่จะช่วยให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้  ? " คำตอบที่เฉลยไว้ มี ๓ ทักษะ ได้แก่
                    ๑. ความสามารถหรือสมรรถนะ (Completition)
                    ๒. การทำงานเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม (Coopperation)
                    ๓. การให้ความร่วมมือ(Collaboration)
                   ใครละที่เราต้องการให้มีคุณลักษณะเช่นนั้น...???
                   และจะช่วยพวกพวกเขาอย่างไร...???
              เราจะช่วยเหลือเด็กของเราให้เป็นบุคคลเรียนรู้ที่มีกลุ่มเครือข่ายระดับโลกอย่างไร....??? เราจะเริ่มต้นที่ไหน...??? --------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ ๑ (Step 1)
            ปรับเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนที่มีพื้นที่การเรียนรู้ที่สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(transform your classroom into CREATIVE  learning space)
              Albert Eistein ได้ให้คำคมควรคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ว่า"ข้าพเจ้าไม่เคยสั่งสอนนักเรียน แต่มีความพยายามที่จะจัดโอกาสหรือสร้างเงื่อนไขที่ส่งเสริมให้พวกเขาได้เรียน(I never teach my pupils; I only attemtp to provide the conditions in which they can learn.)"
              ทำไม ? ตั้งแต่ปี ๑๙๖๐ เป็นต้นมา รูปแบบห้องเรียนส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายๆกัน(มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยม  มีกระดานติดที่ผนัง มีกล่องชอล์ค มีโต๊ะครูด้านหน้า และมีโต๊ะนักเรียนหันหน้าเข้าหาโต๊ะครูและกระดานดำ)
              (อ่านต่อฉบับหน้า)

ภาพการศึกษาดูงานด้านการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สพป.ขอนแก่น เขต ๔

            การเรียนการสอนประวัติศาสตร์มีความจำเป็นเพราะทำให้เกิดความภาคภูมิใจและคงความเป็นตัวตนของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอาจหลายชั่วชีวิตคน ก่อนที่จะมาถึงรุ่นปัจจุบัน
            สพป.ขอนแก่น เขต ๔ โดยท่านรองรัชพร วรรณคำ ท่านศึกษานิเทศก์ทินกร ชาทอง ได้เข้ามาดูแลเรื่องการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัด ได้มีการจัดประชุมสัมมนา และเชิญวิทยากร จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาบรรยาย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทั่วไป และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของคนอีสาน ผมใช้เวลาส่วนหนึ่งเข้าไปนั่งฟัง เป็นเรื่องน่าติดตามมาก ผมไม่ลุกไปไหนเลย นั่งฟังจนท่านวิทยากรบรรยายเสร็จ ยอมรับว่ามีเสน่ห์ จริง ๆ
           ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ตามโครงการเดียวกัน สพป.ขอนแก่น ขต ๔ โดยกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาไปยังแหล่งเรียนรู้(ทางประวัตศาสตร์)ในภาคอีสาน แถบอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา กลุ่ม ICT มองเห็นความสำคัญ จึงได้มอบภารกิจการติดตามเก็บภาพเหตุการณ์กิจกรรม ให้อาจารย์สมภาร บุญหล้า ครู โรงเรียนบ้านบะแต้ เป็นผู้ถ่ายภาพให้ (ขอขอบคุณ ท่าน ผอ.วัชรินทร์ ไชยสมบัติ ที่กรุณาอนุญาต)
          ภาพข้างล่างนี้ เป็นภาพเหตุการณ์ในกิจกรรม ยังไม่มีข้อบรรยายทางประวัติศาสตร์ ก็อยากให้ดูไปพลางๆ ก่อน เดี๋ยวค่อยคุยกันต่อหลังจากชมภาพเสร็จ เชิญเลยครับ


น่าจะบรรยายได้ว่า
คณะครูทุกท่านขึ้นรถที่สำนักงานเขตฯ แล้วก็มุ่งหน้าไปที่วัดหลวงพ่อคูณ
คือ"วัดบ้านไร่"
อ.ด่านขุดทด จ.นครราชสีมา
ตั้งแต่เช้า








คณะครู และเจ้าของโครงการ
ชมทัศนียภาพด้านศิลปวัฒนธรมของวัด
แล้วก็เข้ารับฟัง"วรธรรม"
จากหลวงพ่อคูณ




ดูศิลปะมวยไทย
ที่เป็นการแสดงของเด็กๆ
จากวัดบ้านไร่
ก่อนเดินทางไปที่ด่านเกวียน(๒ ภาพสุดท้าย)




                    ภารกิจของคณะ น่าจะมาจบที่ด่านเกวียน เพราะท่านสมภารโทร มาบอกว่า ห้าโมงเย็นเศษๆ จะเข้าด่านเกวียน ในแง่ของการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ชื่อพียงชื่อเดียวว่า"ด่านเกวียน"ก็มีความหลากหลายในประเด็นศึกษา ที่มากพอแล้ว เช่น
                    ๑.  คำว่า"ด่าน"มีความหมายว่าอย่างไร คำนี้เกิดขึ้นที่นี่ในสมัยใด เกี่ยวข้องกับชีวิตของกลุ่มคนที่นี่และต่างถิ่นในอดีตอย่างไร
                    ๒. คำว่า"เกวียน" ที่ทราบว่าเป็นยวดยานพาหนะในการขนส่งสินค้า ในแง่ของคุณค่าทางนวัตกรรมแลภูมิปัญญามีความสำคัญอย่างไร ปัจจุบันคุณค่าหรือภาระหน้าที่เปลี่ยนไปอย่างไร
                    ๓. ด่านเกวียนในปัจจุบัน เป็นอย่างไร กำลังนำเสนออะไร แก่ผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อะไร ที่โดดเด่น แตกต่างจากที่อื่น
                    ๔. ดิน ที่ใช้ในการสร้างงานหัตถกรรมการป้น ของที่นี่มีคุณสมบัติพิเศษอะไรบ้าง
                    ๕. มีกลุ่มบุคคลกี่กลุ่ม ที่เป็นองค์ประกอบของคนด่านเกวียน
                   ฯลฯ  นั่นเป็นเพียงประเด็นที่นั่งคิดอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ขณะที่เขียนบทความ
                   การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ต้องเรียนรู้ให้ถึงแก่นแท้ และสามารถนำข้อมูลในอดีตและปัจจุบันมาเชื่อมโยงกันให้ได้ เป้าหมายการสอนเป้าหมายการเรียนจึงจะบรรลุผล
                   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ได้สรุปผลการการปฏิรูปการศึกษาประวัติศาสตร์ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา ไว้ ดังนี้
....................
                  ประวัติศาสตร์ทำให้ประชาชนในชาติรู้จักความเป็นมาของชาติของตน ยังความรักความผูกพัน ความหวงแหนในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ บรรพบุรุษ และคนในอดีตได้เสียสละปกป้องแผ่นดินให้ดำรงมาตราบชั่วลูกชั่วหลานจนปัจจุบัน
ความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
                  ประวัติศาสตร์ทำให้ประชาชนในชาติรู้จักความเป็นมาของชาติของตน ยังความรักความผูกพัน ความหวงแหนในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ บรรพบุรุษ และคนในอดีตได้เสียสละปกป้องแผ่นดินให้ดำรงมาตราบชั่วลูกชั่วหลานจนปัจจุบัน การรู้จักประวัติศาสตร์ของประเทศชาติจะทำให้คนหลังได้สืบทอดความเป็นเอกราชของประเทศชาติให้คงอยู่ตลอดไป ดังพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อปลูกฝังเยาวชนได้ตระหนักถึงความเป็นมาของชาติไทย มีความรักความสามัคคีและภาคภูมิใจแผ่นดินไทย
                  ประวัติศาสตร์คืออะไร
          ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ ทำให้เข้าใจพัฒนาของมนุษยชาติจากอดีตจนปัจจุบันการเรียนประวัติศาสตร์จึงเป็นความพยายามที่ต้องการศึกษาให้เข้าใจและอธิบายว่า เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์สำคัญในอดีตได้เกิดขึ้น และดำเนินไปได้อย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเป็นพื้นฐานการศึกษาในศาสตร์ต่างๆ และการศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องทำความเข้าใจ ตีความสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตโดยศึกษาจากร่องรอย เอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานทางโบราณคดี จารึก ตำนาน พระราชพงศาวดาร พระราชหัตถเลขา จดหมายเหตุ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน เนื้อหาในการศึกษาประวัติศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในยุคสมัยต่างๆ การก่อตั้งอาณาจักร ความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักร เป็นต้น ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติที่มีพัฒนาการตั้งแต่ที่สืบสานมาจนปัจจุบัน
          ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์
          1. การได้เรียนประวัติศาสตร์ สอนให้รู้จักตนเอง รู้ประวัติความเป็นมาของประเทศชาติ เข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินจากอดีตและความรุ่งเรืองที่สืบทอดมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง
          2. สร้างจิตสำนึกในความเป็นชาติเกิดความรักความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษวีรบุรุษที่ก่อตั้งชาติบ้านเมืองยังความเป็นปึกแผ่นดำรงเอกราชมาจนปัจจุบันรวมถึงการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมที่คงความเป็นเอกลักษณ์ เป็นหน้าที่คนรุ่นหลังจะต้องสืบทอดให้คงอยู่ตลอดไป
          3. ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมจิตใจให้ใฝ่รู้ (Inquiring Mind) มีการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหลักฐานเอกสาร หาเหตุผล เพื่อค้นคว้าหาคำตอบ
         4. บทเรียนจากอดีต ทำให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้ความเป็นมาในสังคมของตนเอง เห็นบทเรียนในอดีตที่มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจและช่วยตัดสินใจที่จะดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องสังคมและชาติบ้านเมือง บทเรียนในอดีตจะช่วยสร้างความรู้สึกในชะตากรรมให้กับคนในสังคมเดียวกัน ปลูกฝังความรู้สึกในความเป็นชาติ และหวงแหนอิสรภาพและเอกราชของชาติของตนเอง
          ดังนั้นการเรียนประวัติศาสตร์ จึงมุ่งพัฒนาคนให้มีความคิดมีเหตุผล มีความภาคภูมิใจในแผ่นดิน และเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สถานศึกษาจึงต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการสอนประวัติศาสตร์แก่เด็กและเยาวชน
           การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          ด้วยความตระหนักในความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยกำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 กลยุทธ์ที่ 1 "ปลูกฝังคุณธรรมความสำนึกในความเป็นชาติไทย" จึงมีการปฏิรูปการสอนประวัติศาสตร์ ดังนี้
          1. ปรับปรุงหลักสูตรและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย
          เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามพระราชเสวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกระดับให้ความสำคัญในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โดยกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและจัดเป็นวิชาเฉพาะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง สำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมสามารถจัดสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาเพิ่มเติมทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด กล่าวคือ สถานศึกษาต้องบริหารจัดการหลักสูตรและเวลาเรียน จัดรายวิชาประวัติศาสตร์ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เรียนปีละ 40 ชั่วโมง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนภาคเรียนละ 20 ชั่วโมง หรือปีละ 40 ชั่วโมงเช่นกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ทุกภาคเรียน และทุกปีการศึกษา ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนดให้นักเรียนเรียนประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก 2 หน่วยกิต หรือ 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปีการศึกษา
          เดิมนั้น สาระประวัติศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อมีการแยกสาระประวัติศาสตร์ออกมา ย่อมทำให้สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ได้เต็มเนื้อหา และมีเวลาให้นักเรียนได้เรียนอย่างเพียงพอ และเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่ตั้งไว้
          2. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้แก่ครูสอนประวัติศาสตร์และกระบวนทัศน์ของศึกษานิเทศก์ โดยได้ดำเนินการดังนี้
                   2.1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เริ่มโครงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา คือ ประชุมสัมมนาครูและศึกษานิเทศก์ของทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขต ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2551 จัดอบรม 4 จุด คือ
                 จุดที่ 1 ภาคใต้ อบรมระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 2 กันยายน 2551 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
                 จุดที่ 2 ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 5-8 ตุลาคม 2551 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                 จุดที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อบรมระหว่างวันที่ 10-13 ตุลาคม 2551 ณ จังหวัดนครราชสีมา
                จุดที่ 4 ภาคเหนือ อบรมระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2551 ณ จังหวัดสุโขทัย ผู้เข้าประชุมทั้งหมด 748 คน
                2.2 กิจกรรมประกวดหน่วยการเรียนรู้และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งเสริมให้ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้พัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยจัดประกวดการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ช่วงชั้นที่ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4-6) ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) การประกวดในรอบที่ 1 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2552 การประกวดในรอบที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2552
          กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากครูเป็นอย่างมาก มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด 173 รายการ
             2.3 การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และเสริมสร้างประสบการณ์และศักยภาพเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งเสริมให้ครูและศึกษานิเทศก์มีความรู้ความเข้าใจการสอนประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นเรื่องราวของท้องถิ่น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ปราสาทเขาพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ พิพิธภัณฑ์บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแหล่งศึกษารวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมขอมในดินแดนไทย โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2552 สำหรับศึกษานิเทศก์ และระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2552 สำหรับครูผู้สอน
               2.4 การสร้างเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้สร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อาทิคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (กระทรวงวัฒนธรรม) สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ โครงการวิจัยเมธีอาวุโส (สกว.) ในการจัดประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากร
          3. การส่งเสริมเยาวชนมีจิตสำนึกและมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ดังนี้
               3.1 การจัดกิจกรรมแข่งขัน "ประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ" ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีการศึกษา 2551
          3.2 โครงงาน "จัดทำหนังสือการ์ตูนประวัติศาสตร์" โดยจัดอบรมครูสอนศิลปะและนักเรียน 40 คน อบรมครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2552 ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2552 และครั้งที่ 3 วันที่ 25-26 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้สามารถจัดทำหนังสือการ์ตูนโรงเรียนละ 1 เล่ม และจะพัฒนาเป็นสื่อการสอนแก่สถานศึกษาต่อไป
        4. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2552
         5. โครงการประชาสัมพันธ์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สู่สาธารณชนเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร การสอนประวัติศาสตร์ ในรูปการจัดนิทรรศการในการประชุมสัมมนา การเสนอข่าวความเคลื่อนไหวในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
          ก้าวต่อไปของการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีแนวนโยบายเร่งรัดพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษา 2552-2553 เช่น การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย พัฒนาสื่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์การจัดการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น การพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยโครงงาน เป็นต้น โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติตระหนักในความสำคัญและเห็นคุณค่าของการเรียนประวัติศาสตร์ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และดำรงความเป็นชาติให้ยาวนานตลอดไป
          แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้ที่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
curthai@gmail.com--จบ--
          --มติชน ฉบับวันที่ 29 ก.ค. 2552
     
        จากการได้อ่าน บทสรุปการปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่ ๑   ปี  ที่สพฐ. นำเสนอข้อสรุปไว้ ก็มีความเห็นติดตามมาในมุมมองที่ค่อนข้างผิดหวัง 
          รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์  ได้นำเสนอบทความสะท้อนความคิดเห็น นหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า
            ผมอ่าน "สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ : 1 ปีที่ผ่านมา" โดยไม่มีความประหลาดใจใดๆ แต่ก็อดรู้สึกผิดหวังและเสียดายไม่ได้ เพราะหาก "การปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์" ทำได้เท่าที่ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ตั้งใจจะทำ เยาวชนและสังคมไทยก็จะต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเป็นอันมาก
            สพฐ.อธิบายความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแง่ที่ทำให้คนรุ่นหลัง ได้เกิด "ความรัก ความผูกพัน ความหวงแหนแผ่นดิน และสืบทอดเอกราชของชาติต่อไป" โดยมี "ความสามัคคีและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นความสำคัญเดิมๆ ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยเน้นมายาวนาน
           ส่วนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ สพฐ.ก็ตั้งใจจะสืบทอดเนื้อหาเดิมๆ เช่นกัน คือ เน้นการก่อตั้งและความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักร เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ที่มีพัฒนาการตั้งแต่อดีตที่สืบสานมาถึงปัจจุบัน
          สพฐ.ชี้แจงด้วยว่า "ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์" โดยระบุว่า เป็นการ "ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมจิตใจให้ใฝ่รู้ มีการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหลักฐานเอกสาร หาเหตุผล" แต่เป้าหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ สพฐ.วางไว้นั่นเอง ที่จะเป็นอุปสรรคของการตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง
          ผมอยากถาม สพฐ. ว่า นักเรียนจะตั้งคำถามได้ไหมว่า ในอดีตที่ผ่านมา ไทยมี "ความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ" จริงหรือไม่ อะไรคือความยิ่งใหญ่ ถ้ายิ่งใหญ่จริง ไพร่และทาสที่เป็นคนส่วนใหญ่ต้องสังเวยอะไรบ้าง เพื่อบรรลุความยิ่งใหญ่นั้น และพวกเขาได้อะไรตอบแทนบ้าง
         จะถามได้หรือไม่ว่า ประชาชนที่ปัตตานี หรือชาวม้งที่เชียงราย มีบทบาทอย่างไรหรือไม่ในการทำให้ชาติไทยมีความมั่นคงและยิ่งใหญ่
         จะสงสัยได้ไหมว่า ชาวบ้านบางระจันพยายามปกป้องเอกราชของชาติจริงหรือ ในเมื่อเวลานั้น (ต้นพุทธศตวรรษที่ 24) สำนึกเรื่อง "ชาติไทย" ยังไม่เกิดขึ้นเลย
ฯลฯ
         ถ้านักเรียนคนไหนเกิดถามคำถามเหล่านี้ขึ้นมา ครูจะส่งเสริมให้เขาหาคำตอบหรือไม่ และถ้าครูส่งเสริม จะขัดกับสิ่งที่ สพฐ.ต้องการหรือไม่
        ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และประสบปัญหามากมายที่การเรียนประวัติศาสตร์แบบเดิมแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย แค่เรื่องความมั่นคงของชาติก็ต้องคิดกันใหม่หลายชั้น อาทิเช่น จะจัดการทรัพยากรอย่างไร โดยใคร เพื่อให้คนทั้งหมดในชาติมีชีวิตที่มั่นคง สามารถปรับตัวได้ และไม่เสี่ยงต่อความอดอยาก หรือภัยทางสังคมต่างๆ แล้วเราจึงจะสามารถคิดต่อไป ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์แบบไหน ที่จะทำให้ "ชาติไทย" บรรลุความมั่นคงในแง่นี้ได้
          อันที่จริงความรู้ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ใครมีอำนาจในการจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมจัดการทรัพยากรดังกล่าวนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้นๆ หรือชนชั้นนั้นๆ หรือชาติพันธุ์นั้นๆ หาก สพฐ. ต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันด้วยการสอนประวัติศาสตร์จริงๆ แล้วละก็ สพฐ. ต้องให้คนทุกกลุ่มในชาติมีโอกาสจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างเสมอภาค กัน เพื่อให้เกิดความรู้และความทรงจำร่วมเกี่ยวกับ "ชาติไทย" ที่คนทุกกลุ่มในชาติเป็นเจ้าของร่วมกัน และคนทุกกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ชาติที่คนส่วนน้อยเท่านั้นเป็นเจ้าของ และเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ในชาติ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน เพราะหากยังเป็นชาติที่คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของ และมีอำนาจจัดการชาติมากกว่าคนอื่น ความขัดแย้งก็ย่อมมีมาก ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
          การสอนประวัติศาสตร์ให้นักเรียน "คิดเป็น" มีความสำคัญมากต่อชีวิตในอนาคต แต่หากบีบคำถามและคำตอบให้เหลือแคบๆ ดังที่ สพฐ. พยายามทำ ก็เท่ากับทำให้คนไทยคิดอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ตายตัว ทั้งๆ ที่แนวการวิเคราะห์เพื่ออธิบาย "สาเหตุ" และ "ผล" นั้น มีมากมายหลายแบบ แนวการวิเคราะห์แต่ละแบบ ก็ทำให้มองเห็น "สาเหตุ" และ "ผล" ที่แตกต่างกันออกไป
เราคงเห็นอยู่ดาษดื่น ว่า เมื่อคนไทยคิดว่าอะไรคือสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มักคิดอยู่ในกรอบหรือแนวการวิเคราะห์ที่ว่า ผู้นำคือสาเหตุสำคัญ และคนไทยก็มองบทบาทของผู้นำโดยไม่พิจารณาบริบทหรือเงื่อนไขอันซับซ้อนของผู้ นำแม้แต่น้อย ทำให้คนไทยเข้าใจปรากฏการณ์และปัญหาต่างๆ ตื้นเขินไปหมด และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาก็พลอยคับแคบตื้นเขินไปด้วย
           นี่คือ ความล้มเหลวสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และประวัติศาสตร์แบบที่ สพฐ. กำลังจะบังคับให้นักเรียนทุกชั้นต้องเรียน ก็ดำเนินรอยตามทุกฝีก้าว ทั้งๆ ที่โลกและสังคมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร
           สพฐ.ไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของการฝึกให้นักเรียนรู้จักแนวการวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน เพื่อจะสามารถมองปรากฏการณ์หนึ่งๆ จากหลากหลายมุมมอง และสามารถจะพัฒนาวิธีคิดที่เอื้อให้เข้าใจความซับซ้อนของปรากฏการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในอดีต จนเกิดวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นความซับซ้อนและความหลากหลายของความเปลี่ยน แปลงอย่างกระจ่างแจ้งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีศักยภาพมากขึ้นในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตยุคโลกาภิวัตน์
          วิธีคิดที่เอื้อให้มองเห็นความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาที่ เกิดขึ้น เป็นวิธีคิดที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่เปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี หากฝึกให้นักเรียนมองปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตโดยคำนึงถึงบริบทที่ซับซ้อนทางเศรษฐกิจ การเมือง และ/หรือทางสังคม-วัฒนธรรม มิใช่มองหาแต่ความยิ่งใหญ่ของชาติ หรือบทเรียนเรื่องความสามัคคี อาทิเช่น หากจะสอนเรื่องสงครามระหว่างไทยกับพม่า ก็ต้องให้นักเรียนได้พิจารณาว่าสงครามแต่ละครั้งเกิดขึ้นในบริบททางเศรษฐกิจ ที่การค้าทางทะเลขยายตัว จนมีการแย่งชิงเมืองท่าในแถบหัวเมืองมอญหรือไม่ อย่างไร การแข่งกันเพื่อมีอำนาจสูงสุดระหว่างกษัตริย์ไทยและกษัตริย์พม่านี้มีบริบท ทางวัฒนธรรมแบบพุทธเป็นเงื่อนไขหนึ่งหรือไม่ อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าเมืองและประชาชนหรือไพร่ในยุคนั้นเป็น บริบทที่มีผลต่อสงครามหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ หากสอนเช่นนี้นักเรียนก็จะเข้าใจสงครามระหว่างไทยกับพม่าซับซ้อนขึ้น และแน่นอนว่า นักเรียนก็จะเข้าใจความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงในสังคมและชีวิตของตนเองดี ขึ้นด้วย
          ผมคงต้องพูดอย่างที่หลายท่านได้พูดมาแล้ว ว่า ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความสามารถที่จะเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่จะสอนในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ "ความเป็นไทย" ที่ สพฐ.จะปลูกฝังแก่นักเรียนก็ต้องเป็น "พหุวัฒนธรรม" ด้วย
มองต่างมุม : กรณี สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
เขียนโดย เด็กสืบสาน   
กรุงเทพธุรกิจ

รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
ผมอ่าน "สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ : 1 ปีที่ผ่านมา" โดยไม่มีความประหลาดใจใดๆ แต่ก็อดรู้สึกผิดหวังและเสียดายไม่ได้ เพราะหาก "การปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์" ทำได้เท่าที่ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ตั้งใจจะทำ เยาวชนและสังคมไทยก็จะต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเป็นอันมาก
สพฐ.อธิบายความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแง่ที่ทำให้คนรุ่นหลัง ได้เกิด "ความรัก ความผูกพัน ความหวงแหนแผ่นดิน และสืบทอดเอกราชของชาติต่อไป" โดยมี "ความสามัคคีและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นความสำคัญเดิมๆ ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยเน้นมายาวนาน
ส่วนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ สพฐ.ก็ตั้งใจจะสืบทอดเนื้อหาเดิมๆ เช่นกัน คือ เน้นการก่อตั้งและความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักร เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ที่มีพัฒนาการตั้งแต่อดีตที่สืบสานมาถึงปัจจุบัน
สพฐ.ชี้แจงด้วยว่า "ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์" โดยระบุว่า เป็นการ "ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมจิตใจให้ใฝ่รู้ มีการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหลักฐานเอกสาร หาเหตุผล" แต่เป้าหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ สพฐ.วางไว้นั่นเอง ที่จะเป็นอุปสรรคของการตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง
ผมอยากถาม สพฐ. ว่า นักเรียนจะตั้งคำถามได้ไหมว่า ในอดีตที่ผ่านมา ไทยมี "ความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ" จริงหรือไม่ อะไรคือความยิ่งใหญ่ ถ้ายิ่งใหญ่จริง ไพร่และทาสที่เป็นคนส่วนใหญ่ต้องสังเวยอะไรบ้าง เพื่อบรรลุความยิ่งใหญ่นั้น และพวกเขาได้อะไรตอบแทนบ้าง
จะถามได้หรือไม่ว่า ประชาชนที่ปัตตานี หรือชาวม้งที่เชียงราย มีบทบาทอย่างไรหรือไม่ในการทำให้ชาติไทยมีความมั่นคงและยิ่งใหญ่
จะสงสัยได้ไหมว่า ชาวบ้านบางระจันพยายามปกป้องเอกราชของชาติจริงหรือ ในเมื่อเวลานั้น (ต้นพุทธศตวรรษที่ 24) สำนึกเรื่อง "ชาติไทย" ยังไม่เกิดขึ้นเลย
ฯลฯ
ถ้านักเรียนคนไหนเกิดถามคำถามเหล่านี้ขึ้นมา ครูจะส่งเสริมให้เขาหาคำตอบหรือไม่ และถ้าครูส่งเสริม จะขัดกับสิ่งที่ สพฐ.ต้องการหรือไม่
ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และประสบปัญหามากมายที่การเรียนประวัติศาสตร์แบบเดิมแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย แค่เรื่องความมั่นคงของชาติก็ต้องคิดกันใหม่หลายชั้น อาทิเช่น จะจัดการทรัพยากรอย่างไร โดยใคร เพื่อให้คนทั้งหมดในชาติมีชีวิตที่มั่นคง สามารถปรับตัวได้ และไม่เสี่ยงต่อความอดอยาก หรือภัยทางสังคมต่างๆ แล้วเราจึงจะสามารถคิดต่อไป ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์แบบไหน ที่จะทำให้ "ชาติไทย" บรรลุความมั่นคงในแง่นี้ได้
อันที่จริงความรู้ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ใครมีอำนาจในการจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมจัดการทรัพยากรดังกล่าวนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้นๆ หรือชนชั้นนั้นๆ หรือชาติพันธุ์นั้นๆ หาก สพฐ. ต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันด้วยการสอนประวัติศาสตร์จริงๆ แล้วละก็ สพฐ. ต้องให้คนทุกกลุ่มในชาติมีโอกาสจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างเสมอภาค กัน เพื่อให้เกิดความรู้และความทรงจำร่วมเกี่ยวกับ "ชาติไทย" ที่คนทุกกลุ่มในชาติเป็นเจ้าของร่วมกัน และคนทุกกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ใช่ชาติที่คนส่วนน้อยเท่านั้นเป็นเจ้าของ และเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ในชาติ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน เพราะหากยังเป็นชาติที่คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของ และมีอำนาจจัดการชาติมากกว่าคนอื่น ความขัดแย้งก็ย่อมมีมาก ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
การสอนประวัติศาสตร์ให้นักเรียน "คิดเป็น" มีความสำคัญมากต่อชีวิตในอนาคต แต่หากบีบคำถามและคำตอบให้เหลือแคบๆ ดังที่ สพฐ. พยายามทำ ก็เท่ากับทำให้คนไทยคิดอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ตายตัว ทั้งๆ ที่แนวการวิเคราะห์เพื่ออธิบาย "สาเหตุ" และ "ผล" นั้น มีมากมายหลายแบบ แนวการวิเคราะห์แต่ละแบบ ก็ทำให้มองเห็น "สาเหตุ" และ "ผล" ที่แตกต่างกันออกไป
เราคงเห็นอยู่ดาษดื่น ว่า เมื่อคนไทยคิดว่าอะไรคือสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มักคิดอยู่ในกรอบหรือแนวการวิเคราะห์ที่ว่า ผู้นำคือสาเหตุสำคัญ และคนไทยก็มองบทบาทของผู้นำโดยไม่พิจารณาบริบทหรือเงื่อนไขอันซับซ้อนของผู้ นำแม้แต่น้อย ทำให้คนไทยเข้าใจปรากฏการณ์และปัญหาต่างๆ ตื้นเขินไปหมด และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาก็พลอยคับแคบตื้นเขินไปด้วย
นี่คือ ความล้มเหลวสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และประวัติศาสตร์แบบที่ สพฐ. กำลังจะบังคับให้นักเรียนทุกชั้นต้องเรียน ก็ดำเนินรอยตามทุกฝีก้าว ทั้งๆ ที่โลกและสังคมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร
สพฐ.ไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของการฝึกให้นักเรียนรู้จักแนวการวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน เพื่อจะสามารถมองปรากฏการณ์หนึ่งๆ จากหลากหลายมุมมอง และสามารถจะพัฒนาวิธีคิดที่เอื้อให้เข้าใจความซับซ้อนของปรากฏการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในอดีต จนเกิดวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นความซับซ้อนและความหลากหลายของความเปลี่ยน แปลงอย่างกระจ่างแจ้งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีศักยภาพมากขึ้นในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตยุคโลกาภิวัตน์
วิธีคิดที่เอื้อให้มองเห็นความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาที่ เกิดขึ้น เป็นวิธีคิดที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่เปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี หากฝึกให้นักเรียนมองปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตโดยคำนึงถึงบริบทที่ซับซ้อนทางเศรษฐกิจ การเมือง และ/หรือทางสังคม-วัฒนธรรม มิใช่มองหาแต่ความยิ่งใหญ่ของชาติ หรือบทเรียนเรื่องความสามัคคี
อาทิเช่น หากจะสอนเรื่องสงครามระหว่างไทยกับพม่า ก็ต้องให้นักเรียนได้พิจารณาว่าสงครามแต่ละครั้งเกิดขึ้นในบริบททางเศรษฐกิจ ที่การค้าทางทะเลขยายตัว จนมีการแย่งชิงเมืองท่าในแถบหัวเมืองมอญหรือไม่ อย่างไร การแข่งกันเพื่อมีอำนาจสูงสุดระหว่างกษัตริย์ไทยและกษัตริย์พม่านี้มีบริบท ทางวัฒนธรรมแบบพุทธเป็นเงื่อนไขหนึ่งหรือไม่ อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าเมืองและประชาชนหรือไพร่ในยุคนั้นเป็น บริบทที่มีผลต่อสงครามหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ หากสอนเช่นนี้นักเรียนก็จะเข้าใจสงครามระหว่างไทยกับพม่าซับซ้อนขึ้น และแน่นอนว่า นักเรียนก็จะเข้าใจความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงในสังคมและชีวิตของตนเองดี ขึ้นด้วย
ผมคงต้องพูดอย่างที่หลายท่านได้พูดมาแล้ว ว่า ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความสามารถที่จะเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่จะสอนในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ "ความเป็นไทย" ที่ สพฐ.จะปลูกฝังแก่นักเรียนก็ต้องเป็น "พหุวัฒนธรรม" ด้วย

http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7180&user=attachak

มองต่างมุม : กรณี สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
เขียนโดย เด็กสืบสาน   
กรุงเทพธุรกิจ

รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
ผมอ่าน "สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ : 1 ปีที่ผ่านมา" โดยไม่มีความประหลาดใจใดๆ แต่ก็อดรู้สึกผิดหวังและเสียดายไม่ได้ เพราะหาก "การปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์" ทำได้เท่าที่ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ตั้งใจจะทำ เยาวชนและสังคมไทยก็จะต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเป็นอันมาก
สพฐ.อธิบายความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแง่ที่ทำให้คนรุ่นหลัง ได้เกิด "ความรัก ความผูกพัน ความหวงแหนแผ่นดิน และสืบทอดเอกราชของชาติต่อไป" โดยมี "ความสามัคคีและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นความสำคัญเดิมๆ ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยเน้นมายาวนาน
ส่วนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ สพฐ.ก็ตั้งใจจะสืบทอดเนื้อหาเดิมๆ เช่นกัน คือ เน้นการก่อตั้งและความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักร เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ที่มีพัฒนาการตั้งแต่อดีตที่สืบสานมาถึงปัจจุบัน
สพฐ.ชี้แจงด้วยว่า "ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์" โดยระบุว่า เป็นการ "ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมจิตใจให้ใฝ่รู้ มีการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหลักฐานเอกสาร หาเหตุผล" แต่เป้าหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ สพฐ.วางไว้นั่นเอง ที่จะเป็นอุปสรรคของการตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง
ผมอยากถาม สพฐ. ว่า นักเรียนจะตั้งคำถามได้ไหมว่า ในอดีตที่ผ่านมา ไทยมี "ความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ" จริงหรือไม่ อะไรคือความยิ่งใหญ่ ถ้ายิ่งใหญ่จริง ไพร่และทาสที่เป็นคนส่วนใหญ่ต้องสังเวยอะไรบ้าง เพื่อบรรลุความยิ่งใหญ่นั้น และพวกเขาได้อะไรตอบแทนบ้าง
จะถามได้หรือไม่ว่า ประชาชนที่ปัตตานี หรือชาวม้งที่เชียงราย มีบทบาทอย่างไรหรือไม่ในการทำให้ชาติไทยมีความมั่นคงและยิ่งใหญ่
จะสงสัยได้ไหมว่า ชาวบ้านบางระจันพยายามปกป้องเอกราชของชาติจริงหรือ ในเมื่อเวลานั้น (ต้นพุทธศตวรรษที่ 24) สำนึกเรื่อง "ชาติไทย" ยังไม่เกิดขึ้นเลย
ฯลฯ
ถ้านักเรียนคนไหนเกิดถามคำถามเหล่านี้ขึ้นมา ครูจะส่งเสริมให้เขาหาคำตอบหรือไม่ และถ้าครูส่งเสริม จะขัดกับสิ่งที่ สพฐ.ต้องการหรือไม่
ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และประสบปัญหามากมายที่การเรียนประวัติศาสตร์แบบเดิมแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย แค่เรื่องความมั่นคงของชาติก็ต้องคิดกันใหม่หลายชั้น อาทิเช่น จะจัดการทรัพยากรอย่างไร โดยใคร เพื่อให้คนทั้งหมดในชาติมีชีวิตที่มั่นคง สามารถปรับตัวได้ และไม่เสี่ยงต่อความอดอยาก หรือภัยทางสังคมต่างๆ แล้วเราจึงจะสามารถคิดต่อไป ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์แบบไหน ที่จะทำให้ "ชาติไทย" บรรลุความมั่นคงในแง่นี้ได้
อันที่จริงความรู้ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ใครมีอำนาจในการจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมจัดการทรัพยากรดังกล่าวนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้นๆ หรือชนชั้นนั้นๆ หรือชาติพันธุ์นั้นๆ หาก สพฐ. ต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันด้วยการสอนประวัติศาสตร์จริงๆ แล้วละก็ สพฐ. ต้องให้คนทุกกลุ่มในชาติมีโอกาสจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างเสมอภาค กัน เพื่อให้เกิดความรู้และความทรงจำร่วมเกี่ยวกับ "ชาติไทย" ที่คนทุกกลุ่มในชาติเป็นเจ้าของร่วมกัน และคนทุกกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ใช่ชาติที่คนส่วนน้อยเท่านั้นเป็นเจ้าของ และเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ในชาติ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน เพราะหากยังเป็นชาติที่คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของ และมีอำนาจจัดการชาติมากกว่าคนอื่น ความขัดแย้งก็ย่อมมีมาก ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
การสอนประวัติศาสตร์ให้นักเรียน "คิดเป็น" มีความสำคัญมากต่อชีวิตในอนาคต แต่หากบีบคำถามและคำตอบให้เหลือแคบๆ ดังที่ สพฐ. พยายามทำ ก็เท่ากับทำให้คนไทยคิดอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ตายตัว ทั้งๆ ที่แนวการวิเคราะห์เพื่ออธิบาย "สาเหตุ" และ "ผล" นั้น มีมากมายหลายแบบ แนวการวิเคราะห์แต่ละแบบ ก็ทำให้มองเห็น "สาเหตุ" และ "ผล" ที่แตกต่างกันออกไป
เราคงเห็นอยู่ดาษดื่น ว่า เมื่อคนไทยคิดว่าอะไรคือสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มักคิดอยู่ในกรอบหรือแนวการวิเคราะห์ที่ว่า ผู้นำคือสาเหตุสำคัญ และคนไทยก็มองบทบาทของผู้นำโดยไม่พิจารณาบริบทหรือเงื่อนไขอันซับซ้อนของผู้ นำแม้แต่น้อย ทำให้คนไทยเข้าใจปรากฏการณ์และปัญหาต่างๆ ตื้นเขินไปหมด และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาก็พลอยคับแคบตื้นเขินไปด้วย
นี่คือ ความล้มเหลวสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และประวัติศาสตร์แบบที่ สพฐ. กำลังจะบังคับให้นักเรียนทุกชั้นต้องเรียน ก็ดำเนินรอยตามทุกฝีก้าว ทั้งๆ ที่โลกและสังคมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร
สพฐ.ไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของการฝึกให้นักเรียนรู้จักแนวการวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน เพื่อจะสามารถมองปรากฏการณ์หนึ่งๆ จากหลากหลายมุมมอง และสามารถจะพัฒนาวิธีคิดที่เอื้อให้เข้าใจความซับซ้อนของปรากฏการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในอดีต จนเกิดวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นความซับซ้อนและความหลากหลายของความเปลี่ยน แปลงอย่างกระจ่างแจ้งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีศักยภาพมากขึ้นในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตยุคโลกาภิวัตน์
วิธีคิดที่เอื้อให้มองเห็นความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาที่ เกิดขึ้น เป็นวิธีคิดที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่เปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี หากฝึกให้นักเรียนมองปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตโดยคำนึงถึงบริบทที่ซับซ้อนทางเศรษฐกิจ การเมือง และ/หรือทางสังคม-วัฒนธรรม มิใช่มองหาแต่ความยิ่งใหญ่ของชาติ หรือบทเรียนเรื่องความสามัคคี
อาทิเช่น หากจะสอนเรื่องสงครามระหว่างไทยกับพม่า ก็ต้องให้นักเรียนได้พิจารณาว่าสงครามแต่ละครั้งเกิดขึ้นในบริบททางเศรษฐกิจ ที่การค้าทางทะเลขยายตัว จนมีการแย่งชิงเมืองท่าในแถบหัวเมืองมอญหรือไม่ อย่างไร การแข่งกันเพื่อมีอำนาจสูงสุดระหว่างกษัตริย์ไทยและกษัตริย์พม่านี้มีบริบท ทางวัฒนธรรมแบบพุทธเป็นเงื่อนไขหนึ่งหรือไม่ อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าเมืองและประชาชนหรือไพร่ในยุคนั้นเป็น บริบทที่มีผลต่อสงครามหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ หากสอนเช่นนี้นักเรียนก็จะเข้าใจสงครามระหว่างไทยกับพม่าซับซ้อนขึ้น และแน่นอนว่า นักเรียนก็จะเข้าใจความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงในสังคมและชีวิตของตนเองดี ขึ้นด้วย
ผมคงต้องพูดอย่างที่หลายท่านได้พูดมาแล้ว ว่า ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความสามารถที่จะเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่จะสอนในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ "ความเป็นไทย" ที่ สพฐ.จะปลูกฝังแก่นักเรียนก็ต้องเป็น "พหุวัฒนธรรม" ด้วย

http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7180&user=attachak

มองต่างมุม : กรณี สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์
เขียนโดย เด็กสืบสาน   
กรุงเทพธุรกิจ

รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
ผมอ่าน "สพฐ.กับการปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ : 1 ปีที่ผ่านมา" โดยไม่มีความประหลาดใจใดๆ แต่ก็อดรู้สึกผิดหวังและเสียดายไม่ได้ เพราะหาก "การปฏิรูปการเรียนการสอนประวัติศาสตร์" ทำได้เท่าที่ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ตั้งใจจะทำ เยาวชนและสังคมไทยก็จะต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเป็นอันมาก
สพฐ.อธิบายความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในแง่ที่ทำให้คนรุ่นหลัง ได้เกิด "ความรัก ความผูกพัน ความหวงแหนแผ่นดิน และสืบทอดเอกราชของชาติต่อไป" โดยมี "ความสามัคคีและความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทย" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นความสำคัญเดิมๆ ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยเน้นมายาวนาน
ส่วนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ สพฐ.ก็ตั้งใจจะสืบทอดเนื้อหาเดิมๆ เช่นกัน คือ เน้นการก่อตั้งและความเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักร เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นเสมือนกระจกที่ส่องให้เห็นถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ที่มีพัฒนาการตั้งแต่อดีตที่สืบสานมาถึงปัจจุบัน
สพฐ.ชี้แจงด้วยว่า "ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์" โดยระบุว่า เป็นการ "ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมจิตใจให้ใฝ่รู้ มีการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ศึกษาหลักฐานเอกสาร หาเหตุผล" แต่เป้าหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ สพฐ.วางไว้นั่นเอง ที่จะเป็นอุปสรรคของการตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง
ผมอยากถาม สพฐ. ว่า นักเรียนจะตั้งคำถามได้ไหมว่า ในอดีตที่ผ่านมา ไทยมี "ความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ" จริงหรือไม่ อะไรคือความยิ่งใหญ่ ถ้ายิ่งใหญ่จริง ไพร่และทาสที่เป็นคนส่วนใหญ่ต้องสังเวยอะไรบ้าง เพื่อบรรลุความยิ่งใหญ่นั้น และพวกเขาได้อะไรตอบแทนบ้าง
จะถามได้หรือไม่ว่า ประชาชนที่ปัตตานี หรือชาวม้งที่เชียงราย มีบทบาทอย่างไรหรือไม่ในการทำให้ชาติไทยมีความมั่นคงและยิ่งใหญ่
จะสงสัยได้ไหมว่า ชาวบ้านบางระจันพยายามปกป้องเอกราชของชาติจริงหรือ ในเมื่อเวลานั้น (ต้นพุทธศตวรรษที่ 24) สำนึกเรื่อง "ชาติไทย" ยังไม่เกิดขึ้นเลย
ฯลฯ
ถ้านักเรียนคนไหนเกิดถามคำถามเหล่านี้ขึ้นมา ครูจะส่งเสริมให้เขาหาคำตอบหรือไม่ และถ้าครูส่งเสริม จะขัดกับสิ่งที่ สพฐ.ต้องการหรือไม่
ในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และประสบปัญหามากมายที่การเรียนประวัติศาสตร์แบบเดิมแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย แค่เรื่องความมั่นคงของชาติก็ต้องคิดกันใหม่หลายชั้น อาทิเช่น จะจัดการทรัพยากรอย่างไร โดยใคร เพื่อให้คนทั้งหมดในชาติมีชีวิตที่มั่นคง สามารถปรับตัวได้ และไม่เสี่ยงต่อความอดอยาก หรือภัยทางสังคมต่างๆ แล้วเราจึงจะสามารถคิดต่อไป ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์แบบไหน ที่จะทำให้ "ชาติไทย" บรรลุความมั่นคงในแง่นี้ได้
อันที่จริงความรู้ทางประวัติศาสตร์ก็เป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ใครมีอำนาจในการจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมจัดการทรัพยากรดังกล่าวนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้นๆ หรือชนชั้นนั้นๆ หรือชาติพันธุ์นั้นๆ หาก สพฐ. ต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันด้วยการสอนประวัติศาสตร์จริงๆ แล้วละก็ สพฐ. ต้องให้คนทุกกลุ่มในชาติมีโอกาสจัดการความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างเสมอภาค กัน เพื่อให้เกิดความรู้และความทรงจำร่วมเกี่ยวกับ "ชาติไทย" ที่คนทุกกลุ่มในชาติเป็นเจ้าของร่วมกัน และคนทุกกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ใช่ชาติที่คนส่วนน้อยเท่านั้นเป็นเจ้าของ และเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ในชาติ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน เพราะหากยังเป็นชาติที่คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของ และมีอำนาจจัดการชาติมากกว่าคนอื่น ความขัดแย้งก็ย่อมมีมาก ดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
การสอนประวัติศาสตร์ให้นักเรียน "คิดเป็น" มีความสำคัญมากต่อชีวิตในอนาคต แต่หากบีบคำถามและคำตอบให้เหลือแคบๆ ดังที่ สพฐ. พยายามทำ ก็เท่ากับทำให้คนไทยคิดอยู่ในกรอบแคบๆ ที่ตายตัว ทั้งๆ ที่แนวการวิเคราะห์เพื่ออธิบาย "สาเหตุ" และ "ผล" นั้น มีมากมายหลายแบบ แนวการวิเคราะห์แต่ละแบบ ก็ทำให้มองเห็น "สาเหตุ" และ "ผล" ที่แตกต่างกันออกไป
เราคงเห็นอยู่ดาษดื่น ว่า เมื่อคนไทยคิดว่าอะไรคือสาเหตุของความเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งในอดีตและในปัจจุบัน ก็มักคิดอยู่ในกรอบหรือแนวการวิเคราะห์ที่ว่า ผู้นำคือสาเหตุสำคัญ และคนไทยก็มองบทบาทของผู้นำโดยไม่พิจารณาบริบทหรือเงื่อนไขอันซับซ้อนของผู้ นำแม้แต่น้อย ทำให้คนไทยเข้าใจปรากฏการณ์และปัญหาต่างๆ ตื้นเขินไปหมด และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาก็พลอยคับแคบตื้นเขินไปด้วย
นี่คือ ความล้มเหลวสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา และประวัติศาสตร์แบบที่ สพฐ. กำลังจะบังคับให้นักเรียนทุกชั้นต้องเรียน ก็ดำเนินรอยตามทุกฝีก้าว ทั้งๆ ที่โลกและสังคมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร
สพฐ.ไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของการฝึกให้นักเรียนรู้จักแนวการวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน เพื่อจะสามารถมองปรากฏการณ์หนึ่งๆ จากหลากหลายมุมมอง และสามารถจะพัฒนาวิธีคิดที่เอื้อให้เข้าใจความซับซ้อนของปรากฏการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในอดีต จนเกิดวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นความซับซ้อนและความหลากหลายของความเปลี่ยน แปลงอย่างกระจ่างแจ้งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีศักยภาพมากขึ้นในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ที่หลั่งไหลเข้ามาในชีวิตยุคโลกาภิวัตน์
วิธีคิดที่เอื้อให้มองเห็นความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาที่ เกิดขึ้น เป็นวิธีคิดที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่เปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี หากฝึกให้นักเรียนมองปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตโดยคำนึงถึงบริบทที่ซับซ้อนทางเศรษฐกิจ การเมือง และ/หรือทางสังคม-วัฒนธรรม มิใช่มองหาแต่ความยิ่งใหญ่ของชาติ หรือบทเรียนเรื่องความสามัคคี
อาทิเช่น หากจะสอนเรื่องสงครามระหว่างไทยกับพม่า ก็ต้องให้นักเรียนได้พิจารณาว่าสงครามแต่ละครั้งเกิดขึ้นในบริบททางเศรษฐกิจ ที่การค้าทางทะเลขยายตัว จนมีการแย่งชิงเมืองท่าในแถบหัวเมืองมอญหรือไม่ อย่างไร การแข่งกันเพื่อมีอำนาจสูงสุดระหว่างกษัตริย์ไทยและกษัตริย์พม่านี้มีบริบท ทางวัฒนธรรมแบบพุทธเป็นเงื่อนไขหนึ่งหรือไม่ อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าเมืองและประชาชนหรือไพร่ในยุคนั้นเป็น บริบทที่มีผลต่อสงครามหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ หากสอนเช่นนี้นักเรียนก็จะเข้าใจสงครามระหว่างไทยกับพม่าซับซ้อนขึ้น และแน่นอนว่า นักเรียนก็จะเข้าใจความซับซ้อนของความเปลี่ยนแปลงในสังคมและชีวิตของตนเองดี ขึ้นด้วย
ผมคงต้องพูดอย่างที่หลายท่านได้พูดมาแล้ว ว่า ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความสามารถที่จะเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่จะสอนในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ "ความเป็นไทย" ที่ สพฐ.จะปลูกฝังแก่นักเรียนก็ต้องเป็น "พหุวัฒนธรรม" ด้วย

http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7180&user=attachak

           
        อ้างอิงจาก
  
            
                                                                        ฿฿฿sornorinno฿฿฿ 
                 

สถานที่การประชุมสัมมนาศึกษานิเทศก์ตามรูปแบบการนิเทศแนวใหม่ สพป.ขอนแก่น เขต ๔

             ได้มีโอกาส ไปศึกษาข้อมูลสถานที่การประชุมสัมมนาศึกษานิเทศก์ตามรูปแบบการนิเทศแนวใหม่ สพป.ขอนแก่น เขต ๔ที่ อ.ภูเรือ จังหวัดเลย เมื่อศึกษาข้อมูลแล้ว ผู้รับผิดชอบได้ตกลงเลือก "ภูเรือบุษบารีสอร์ท&สปา" เป็นสถานที่ดำเนินการ ก็อยากนำเสนอข้อมูล ด้านสถานที่ และเส้นทางการเดินทงวมถึงกิจกรรมบางอย่างที่สามารถเพิ่มประสบการณ์และจิตพิสัยในการทำงาน ดังนี้
             ๑. ภาพสถานที่
อาคารสำนักงานด้านหลังเป็นโรงแรม

มุมใกล้ของเรือพักใหญ่


หลังถัดไปหลังคาสีแดง คือ
อาคารหอประชุม
ที่กำกิจกรรมทั้งหมด  ประชุมสัมมนา แยก รวมกลุ่ม รับประทานอาหารเย็น รีแล็ก
ห้องกว้างมาก สำหรับสมาชิกประมาณ ๑๐๐ ท่าน
เรือนพัก พักได้ ๑๐ ท่าน





เรือนพักหลังเล็ก พัก ๒ ท่าน



              จำนวนอาคารที่พักที่จับจองไว้ เบื้องต้น หลังใหญ่  ๓ หลัง หลังเล็ก ๓ หลัง อาคารหอประชุม ๑ หลัง อาคารรับประทานอาการเช้า ๑ หลัง ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
             ๒.  เวลานัดหมาย รถเคลื่อนเวลา  ๐๘.๓๐  น. ที่สำนักงานเขตในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓  กลุ่มนิเทศ ฯ จัดพาหนะบริการอาจเป็นรถตู้รถโดยสารเล็ก และรถของสมาชิกที่เท่าจำเป็น
             ๓. อาหารเช้า-เที่ยงในวันเดินทางไป อาหารเที่ยงวันเดินทางกลับ ช่วยเหลือตนเอง นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
             ๔. เส้นทางเดินทางไป  สำนักงานเขต >อุบลรัตน์>โนนสัง>หนองบัว>วังสะพุง>สานตม>ภูเรือ ระยะทาง ๔๓ กิโลเมตร ทางแคบ ชัน บางช่วง วิวสวย  หรือ สำนักงานเขต >อุบลรัตน์>โนนสัง>หนองบัว>วังสะพุง>เมืองเลย>ภูเรือ จากวังสะพุงถึงภูเรือ ระยะทาง ๗๒ กิโลเมตร ทางกว้างชัน เกือบตลอดเส้นทาง วิวสวยมากมีจุดชมวิว
             ๕. เส้นทางเดินทางกลับ ภูเรือ >ด่ายซ้าย(ผ่านชาโต้)>ด่านซ้าย(ชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน นมัสการเจดีย์ศรีสองรัก วัดวิปัสสนา)> หล่มเก่า> น้ำหนาว> ชุมแพ >ขอนแก่น> น้ำพอง หรือ

ภูเรือ >ด่ายซ้าย(ผ่านชาโต้)>ด่านซ้าย(ชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน นมัสการเจดีย์ศรีสองรัก วัดวิปัสสนา)> เมืองเลย>เชียงคาน(แก่งคุดคู้)> วังสะพุง >หนองบัว>อุบลรัตน์> น้ำพอง              ๖. กิจกรรมสำหรับคนติ่นเช้า ตี ๕.๓๐ น. ของคืนวันที่ ๒๒ ขึ้นภูเรือดูทะเลหมอกที่อุทยาน
              ก็นำเสนอเท่าที่ได้ข้อมูลจาก Director อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริงจากผู้จัด และอย่าลืมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนที่สุด ส่วนกิจกรรมทางวิชาการต้องศึกษาข้อมูลจากหัวหน้าประสาท หัวหน้าธรรมรัตน์ และคุณทินกร...จาก sornorinno
การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า : ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C

โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง
ผู้อำนวยการสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม


                  เรากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางสังคม / เศรษฐกิจไปสู่ สังคม / เศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based society/ economy) ซึ่งเป็นสังคม / เศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับ ทักษะกระบวนการคิด สารสนเทศ และ การจัดการกับสารสนเทศเป็นหลัก แม้ว่าการเข้าสู่ สังคม / เศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว หากการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ผู้สอน รวมทั้งผู้เรียน เป็นไปอย่างช้าๆ ขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และการเรียนรู้ให้ตอบสนองกับสังคม / เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และรูปแบบการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้าที่กำลังจะตามมา (next-generation of learning) อย่างไรก็ดี การปฏิรูปการศึกษาโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและการเรียนรู้ ในลักษณะต่างๆ นั้น สิ่งสำคัญมากที่สุด ประการหนึ่ง ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน และผู้เรียน ในการตอบสนองกับวิธีการสอนและการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันดีว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้ยาก หรือเป็นไปอย่างจำกัด หากปราศจากซึ่งความพร้อมของครูผู้สอน และผู้เรียน

                        บทความนี้จึงเขียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นความพยายามส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หรือ คุณสมบัติที่สำคัญของ ครูผู้สอน และ ผู้เรียนยุคใหม่ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของ ครู อาจารย์ และผู้เรียน เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาในบ้านเราเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังหวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาจะได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดในบทความนี้ ในการทบทวนถึง หลักสูตรการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้ดำเนินการอยู่ หรือ จะดำเนินการในอนาคต ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้ในบ้านเราอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป

                       บทความนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ คุณสมบัติที่จำเป็นของครูผู้สอน (หรือ C-Teachers ) คุณสมบัติที่จำเป็นของผู้เรียน รวมทั้ง รูปแบบการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า (next-generation of learning)

                       อนาคตครูไทย ครูพันธ์ C (C-Teachers)
C-Teachers ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ผู้สอนระดับ ซี แต่อย่างใด หากหมายความถึง ผู้สอนที่มีทักษะต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนในอนาคตนั่นเอง C-Teachers ประกอบไปด้วยทักษะที่จำเป็น 8 ประการด้วยกัน

                      1. C-Content ได้แก่ การที่ผู้สอนจำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาที่ตนรับผิดชอบในการสอนนั่นเอง  C ตัวแรกถือเป็นลักษณะที่จำเป็นอย่างที่สุด และขาดไม่ได้สำหรับผู้สอน เพราะถึงแม้ผู้สอนจะมีทักษะ  C อื่นๆ ทุกทักษะที่เหลือทั้งหมด แต่หากขาดซึ่งความเชี่ยวชาญในเนื้อหาการสอนของตนแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากครูผู้สอนที่ไม่แม่นในเนื้อหา หรือ ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนพยายามถ่ายทอด / ส่งผ่านให้แก่ผู้เรียน

                   ผู้เขียนได้รับอิทธิพลจากแนวคิด C-Learning ของ Dr. Sellinger จาก CISCO (2006) และได้นำมาประยุกต์แนวคิดเพื่อนำเสนอในบทความนี้

                  2. C-Computer (ICT) Integration ได้แก่ การที่ผู้สอนควรที่จะมีการฝึกฝนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ (ไอซีที) ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน สาเหตุสำคัญที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะด้านการประยุกต์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์นั้น นอกจากจะเป็นการติดอาวุธด้านทักษะในการใช้ไอซีที โดยทางอ้อมให้แก่ผู้เรียนแล้ว หากมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังสามารถส่งเสริม ทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

                  3. Constructionist ได้แก่ การที่ผู้สอนเป็นผู้สร้างสรรค์ หรือ มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่อง constructionism ซึ่งมุ่งเน้นแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเรื่องภายในของตัวบุคคล จากการที่ได้ลงมือสร้างทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่อยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ มาก่อน ครูผู้สอนที่เป็นผู้สร้างสรรค์ค์นั้นไม่เพียงแต่จะสามารถใช้ทักษะนี้ในการพัฒนาในด้านของเนื้อหา องค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับผู้เรียนเองแล้ว หากยังสามารถ นำไปใช้ในการสร้างแผนการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ผ่านการลงมือผลิตชิ้นงานต่างๆ เช่น งานศิลปะ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

                 4. Connectivity ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีทักษะในการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เพื่อนครูทั้งในสถานศึกษาเดียวกัน และต่างสถานศึกษา หรือเชื่อมโยงกับ โรงเรียน (สถานศึกษา) บ้าน และ / หรือชุมชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างดีนั้น เมื่อสิ่งที่เรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์โดยตรง หรือ เกี่ยวข้องกับ ความสนใจ ประสบการณ์ ความเชื่อ สังคม และ วัฒนธรรมของผู้เรียน การที่ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ ในชั้นเรียนกับเพื่อน ครู ในโรงเรียน (สถานศึกษา) บ้าน และสังคมแวดล้อมที่ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่ง ได้มากเท่าใด ก็ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์ตรงได้มากเท่านั้น

                5. Collaboration ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีความสามารถในการเรียนรู้แบบร่วมมือกันกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ผู้สอนจะต้องมีทักษะในบทบาทของการเป็นโค้ช หรือ ที่ปรึกษาที่ดีในการเรียนรู้ (ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง) ของผู้เรียน รวมทั้ง การเป็นผู้เรียนเองในบางครั้ง ทักษะสำคัญของการเป็นโค้ช หรือ ที่ปรึกษาที่ดีนั้น ได้แก่ การสร้างฐานการเรียนรู้ ( scaffold ) ให้กับผู้เรียนเป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดฐานการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยในการต่อยอดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมขึ้นได้ ทั้งนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในผู้เรียนได้อย่างจำกัด หากปราศจากซึ่งฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมจากผู้สอน

             6. Communication ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีทักษะในการสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพไม่ได้หมายถึง เฉพาะการพัฒนาให้เกิด ทักษะของเทคนิคการสื่อสารที่ดี เช่น การอธิบายด้วยคำพูด หรือข้อความ การยกตัวอย่าง ฯลฯ เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงการเลือกใช้สื่อ (media) ต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้สอนสามารถส่งผ่านเนื้อหาสาระที่ต้องการจะนำเสนอ หรือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

            7. Creativity ได้แก่ การที่ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพราะบทบาทของครูผู้สอนในยุคสมัยหน้านั้น ไม่ได้มุ่งเน้นการเป็นผู้ป้อน / ส่งผ่านความรู้ ( impart ) ให้กับผู้เรียนโดยตรง หากมุ่งไปสู่ บทบาทของการสร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้สอนจะได้รับการคาดหวังให้สามารถที่จะรังสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

                 8. Caring ได้แก่ การที่ครูผู้สอนจะต้องมีความมุทิตา ความรัก ความปรารถนา และความห่วงใยอย่างจริงใจแก่ผู้เรียน ในทักษะทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ทักษะ caring (มุทิตา) หรือ นี้นั้น นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะความมีมุทิตา รัก ปรารถนาดี และห่วงใยกับผู้เรียนของครูนั้น จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อใจต่อผู้สอน ส่งผลให้เกิดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในลักษณะการตื่นตัวอย่างผ่อนคลาย ( relaxed alertness ) แทนความรู้สึกวิตกกังวล ( anxiety ) ในสิ่งที่จะเรียนรู้ ซึ่ง การตื่นตัวอย่างผ่อนคลาย ถือว่า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    ในตอนแรกของบทความนี้ ได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอนของยุคการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า (next-generation of learning) โดยได้แนะนำถึง คุณลักษณะพึงประสงค์ 8 ประการ ของครูผู้สอนในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ หลักสูตรเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู หรือ สถาบันการศึกษาที่มีหน้าที่ในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะฯ ที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะใหม่ๆ ( ลำดับที่ 2- ลำดับที่ 7) ซึ่งต้องการการฝึกฝน และเรียนรู้จาก ต้นแบบ ( trainers/ instructors) หรือ ตัวอย่างที่ชัดเจน เพราะในปัจจุบัน ได้เริ่มมีความพยายามในการอบรม ให้ความรู้ ที่เน้นทักษะใหม่ๆ ดังกล่าวไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ดี การขยายผลยังคงเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งนี้เพราะการที่ครูผู้สอนขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ขาดตัวอย่างกิจกรรม / ครูต้นแบบ รวมทั้งขาดการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอย่างเป็นระบบและทั้งระบบ ที่จะทำให้การพัฒนาทักษะดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

   
สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โทร. 0-5394-3811,0-5394-3822 แฟกซ์ 0-5321-6747,0-5394-3818 e-mail : itsc@chiangmai.ac.th

ขออนุญาตและขอขอบคุณเจ้าของบทความ จากเว็บไซต์

http://www.it.chiangmai.ac.th/issuedetail.php?ID=12

ครูพันธ์ C (C teacher)

การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า : ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C
โดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง
ผู้อำนวยการสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม


               เรากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางสังคม / เศรษฐกิจไปสู่ สังคม / เศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based society/ economy) ซึ่งเป็นสังคม / เศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับ ทักษะกระบวนการคิด สารสนเทศ และ การจัดการกับสารสนเทศเป็นหลัก แม้ว่าการเข้าสู่ สังคม / เศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว หากการปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ผู้สอน รวมทั้งผู้เรียน เป็นไปอย่างช้าๆ ขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และการเรียนรู้ให้ตอบสนองกับสังคม / เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และรูปแบบการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้าที่กำลังจะตามมา (next-generation of learning) อย่างไรก็ดี การปฏิรูปการศึกษาโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและการเรียนรู้ ในลักษณะต่างๆ นั้น สิ่งสำคัญมากที่สุด ประการหนึ่ง ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน และผู้เรียน ในการตอบสนองกับวิธีการสอนและการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันดีว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้ยาก หรือเป็นไปอย่างจำกัด หากปราศจากซึ่งความพร้อมของครูผู้สอน และผู้เรียน

              บทความนี้จึงเขียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นความพยายามส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หรือ คุณสมบัติที่สำคัญของ ครูผู้สอน และ ผู้เรียนยุคใหม่ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของ ครู อาจารย์ และผู้เรียน เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาในบ้านเราเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังหวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาจะได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดในบทความนี้ ในการทบทวนถึง หลักสูตรการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้ดำเนินการอยู่ หรือ จะดำเนินการในอนาคต ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้ในบ้านเราอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป

บทความนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ คุณสมบัติที่จำเป็นของครูผู้สอน (หรือ C-Teachers ) คุณสมบัติที่จำเป็นของผู้เรียน รวมทั้ง รูปแบบการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า (next-generation of learning)

อนาคตครูไทย ครูพันธ์ C (C-Teachers)
                C-Teachers ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ผู้สอนระดับ ซี แต่อย่างใด หากหมายความถึง ผู้สอนที่มีทักษะต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนในอนาคตนั่นเอง C-Teachers ประกอบไปด้วยทักษะที่จำเป็น 8 ประการด้วยกัน
                1. C-Content ได้แก่ การที่ผู้สอนจำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาที่ตนรับผิดชอบในการสอนนั่นเอง C ตัวแรกถือเป็นลักษณะที่จำเป็นอย่างที่สุด และขาดไม่ได้สำหรับผู้สอน เพราะถึงแม้ผู้สอนจะมีทักษะ C อื่นๆ ทุกทักษะที่เหลือทั้งหมด แต่หากขาดซึ่งความเชี่ยวชาญในเนื้อหาการสอนของตนแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากครูผู้สอนที่ไม่แม่นในเนื้อหา หรือ ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนพยายามถ่ายทอด / ส่งผ่านให้แก่ผู้เรียน
                 ผู้เขียนได้รับอิทธิพลจากแนวคิด C-Learning ของ Dr. Sellinger จาก CISCO (2006) และได้นำมาประยุกต์แนวคิดเพื่อนำเสนอในบทความนี้

           2. C-Computer (ICT) Integration ได้แก่ การที่ผู้สอนควรที่จะมีการฝึกฝนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ (ไอซีที) ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน สาเหตุสำคัญที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะด้านการประยุกต์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์นั้น นอกจากจะเป็นการติดอาวุธด้านทักษะในการใช้ไอซีที โดยทางอ้อมให้แก่ผู้เรียนแล้ว หากมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังสามารถส่งเสริม ทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

          3. Constructionist ได้แก่ การที่ผู้สอนเป็นผู้สร้างสรรค์ หรือ มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่อง constructionism ซึ่งมุ่งเน้นแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้น เป็นเรื่องภายในของตัวบุคคล จากการที่ได้ลงมือสร้างทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่อยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ มาก่อน ครูผู้สอนที่เป็นผู้สร้างสรรค์ค์นั้นไม่เพียงแต่จะสามารถใช้ทักษะนี้ในการพัฒนาในด้านของเนื้อหา องค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับผู้เรียนเองแล้ว หากยังสามารถ นำไปใช้ในการสร้างแผนการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ผ่านการลงมือผลิตชิ้นงานต่างๆ เช่น งานศิลปะ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

              4. Connectivity ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีทักษะในการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เพื่อนครูทั้งในสถานศึกษาเดียวกัน และต่างสถานศึกษา หรือเชื่อมโยงกับ โรงเรียน (สถานศึกษา) บ้าน และ / หรือชุมชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างดีนั้น เมื่อสิ่งที่เรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์โดยตรง หรือ เกี่ยวข้องกับ ความสนใจ ประสบการณ์ ความเชื่อ สังคม และ วัฒนธรรมของผู้เรียน การที่ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ ในชั้นเรียนกับเพื่อน ครู ในโรงเรียน (สถานศึกษา) บ้าน และสังคมแวดล้อมที่ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่ง ได้มากเท่าใด ก็ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์ตรงได้มากเท่านั้น

           5. Collaboration ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีความสามารถในการเรียนรู้แบบร่วมมือกันกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ผู้สอนจะต้องมีทักษะในบทบาทของการเป็นโค้ช หรือ ที่ปรึกษาที่ดีในการเรียนรู้ (ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง) ของผู้เรียน รวมทั้ง การเป็นผู้เรียนเองในบางครั้ง ทักษะสำคัญของการเป็นโค้ช หรือ ที่ปรึกษาที่ดีนั้น ได้แก่ การสร้างฐานการเรียนรู้ ( scaffold ) ให้กับผู้เรียนเป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดฐานการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยในการต่อยอดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมขึ้นได้ ทั้งนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในผู้เรียนได้อย่างจำกัด หากปราศจากซึ่งฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมจากผู้สอน

            6. Communication ได้แก่ การที่ครูผู้สอนมีทักษะในการสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพไม่ได้หมายถึง เฉพาะการพัฒนาให้เกิด ทักษะของเทคนิคการสื่อสารที่ดี เช่น การอธิบายด้วยคำพูด หรือข้อความ การยกตัวอย่าง ฯลฯ เท่านั้น หากยังหมายรวมถึงการเลือกใช้สื่อ (media) ต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้สอนสามารถส่งผ่านเนื้อหาสาระที่ต้องการจะนำเสนอ หรือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม

             7. Creativity ได้แก่ การที่ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพราะบทบาทของครูผู้สอนในยุคสมัยหน้านั้น ไม่ได้มุ่งเน้นการเป็นผู้ป้อน / ส่งผ่านความรู้ ( impart ) ให้กับผู้เรียนโดยตรง หากมุ่งไปสู่ บทบาทของการสร้างสรรค์ ออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้สอนจะได้รับการคาดหวังให้สามารถที่จะรังสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

             8. Caring ได้แก่ การที่ครูผู้สอนจะต้องมีความมุทิตา ความรัก ความปรารถนา และความห่วงใยอย่างจริงใจแก่ผู้เรียน ในทักษะทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ทักษะ caring (มุทิตา) หรือ นี้นั้น นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะความมีมุทิตา รัก ปรารถนาดี และห่วงใยกับผู้เรียนของครูนั้น จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อใจต่อผู้สอน ส่งผลให้เกิดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในลักษณะการตื่นตัวอย่างผ่อนคลาย ( relaxed alertness ) แทนความรู้สึกวิตกกังวล ( anxiety ) ในสิ่งที่จะเรียนรู้ ซึ่ง การตื่นตัวอย่างผ่อนคลาย ถือว่า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              ในตอนแรกของบทความนี้ ได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอนของยุคการเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า (next-generation of learning) โดยได้แนะนำถึง คุณลักษณะพึงประสงค์ 8 ประการ ของครูผู้สอนในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ หลักสูตรเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู หรือ สถาบันการศึกษาที่มีหน้าที่ในการผลิตบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะฯ ที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะใหม่ๆ ( ลำดับที่ 2- ลำดับที่ 7) ซึ่งต้องการการฝึกฝน และเรียนรู้จาก ต้นแบบ ( trainers/ instructors) หรือ ตัวอย่างที่ชัดเจน เพราะในปัจจุบัน ได้เริ่มมีความพยายามในการอบรม ให้ความรู้ ที่เน้นทักษะใหม่ๆ ดังกล่าวไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ดี การขยายผลยังคงเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งนี้เพราะการที่ครูผู้สอนขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ขาดตัวอย่างกิจกรรม / ครูต้นแบบ รวมทั้งขาดการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอย่างเป็นระบบและทั้งระบบ ที่จะทำให้การพัฒนาทักษะดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม


สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โทร. 0-5394-3811,0-5394-3822 แฟกซ์ 0-5321-6747,0-5394-3818 e-mail : itsc@chiangmai.ac.th
Copyright © 2004 All right reserved
ขออนุญาต และขอขอบคุณ เจ้าของบทความ จากเว็บไซต์

http://www.it.chiangmai.ac.th/issuedetail.php?ID=12